วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ดีเอ็นเอ




สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (deoxy-ribonucleic acid; DNA) เป็นกรดนิวคลิอิก (Nucleic acid) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอส่วนใหญ่อยู่ในรูปโครโมโซม (chromosome) วางตัวอยู่ในส่วนนิวเคลียสภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ดีเอ็นเอมีหน้าที่สำคัญ ๒ ประการ คือ
๑. การจำลองตัวเอง (DNA replica- tion) ดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตมีความสามารถสร้างและจำลองตัวมันเอง ขณะเกิดกระบวนการแบ่งเซลล์ เพื่อสร้างดีเอ็นเอที่เหมือนเดิมทุกประการให้แก่เซลล์ใหม่
๒. การถ่ายทอดข้อมูลผ่านอาร์เอ็นเอ (transcription) ดีเอ็นเอสามารถถูกถอดรหัสเพื่อสร้างเป็นอาร์เอ็นเอ (ribonucleic acid; RNA) อาร์เอ็นเอที่ได้นี้จะทำหน้าที่กำหนดการเรียงตัวของกรดอะมิโนในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งโปรตีนจะถูกนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างขององค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ และเป็นสารเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีหรือเอนไซม์ (enzyme) ในสิ่งมีชีวิต ด้วยหน้าที่ทั้ง ๒ ประการของดีเอ็นเอ ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถสืบทอดลักษณะประจำพันธุ์ และดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้
ดีเอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลิโอไทด์ (nucleotide) ซึ่งเป็นสารประกอบไนโตรจีนัสเบส (nitrogenous base) แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มพิวรีนเบส (purine) ได้แก่ ไทมีน (thymine; T) ไซโทซีน (cytosine; C) และกลุ่มไพริมิดีนเบส (pyrimidine) ได้แก่ อะดีนีน (adenine; A) กัวนีน (guanine; G) โดยสารประกอบไนโตรจีนัสเบสนี้จะรวมตัวกับน้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose sugar) และกรดฟอสฟอริก (phosphoric acid) เป็นนิวคลิโอไทด์อยู่ในดีเอ็นเอ นิวคลิโอไทด์จึงมีอยู่ ๔ ชนิดตามชนิดของไนโตรจีนัสเบส คือ อะดีโนซีนไทรฟอสเฟต (adenosine triphosphate; ATP) กัวโนซีนไทรฟอสเฟต (guanosine triphosphate; GTP) ไซโทซีนไทรฟอสเฟต (cytosine triphosphate; CTP) และไทมิดีนไทรฟอสเฟต (thymidine triphos- phate; TTP) การเรียงลำดับของนิวคลิโอไทด์ ทั้ง ๔ ชนิด ส่งผลต่อการเกิดความหลากหลาย และสร้างความแตกต่างในลำดับเบสบนสายดีเอ็นเอ ซึ่งมีความจำเพาะในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
โครงสร้างของดีเอ็นเอประกอบไปด้วย สายพอลินิวคลิโอไทด์ที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันของนิวคลิโอไทด์หลายๆ หน่วย ด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเตอร์ โดยเกิดจากสายพอลินิวคลิโอไทด์จำนวน ๒ สายเรียงตัวขนานกันในทิศทางตรงกันข้าม เข้าคู่และพันกันเป็นเกลียวเวียนขวาคล้ายบันไดเวียน ที่เรียกว่า ดับเบิลเฮลิกซ์ (doublehelix) การเข้าคู่หรือเข้าจับกันของสายพอลินิวคลิโอไทด์ทั้ง ๒ สายเกิดจากการเข้าคู่กันระหว่างเบสพิวรีนและเบสไพริมิดีน ด้วยพันธะไฮโดรเจน โดย A ทำการสร้างพันธะจำนวน ๒ พันธะเข้าจับกับ T (A = T) และ G ทำการสร้างพันธะ จำนวน ๓ พันธะเข้าจับกับ C (G บ C) โดยมีน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตทำหน้าที่เป็นแกนอยู่ด้านนอกของโมเลกุล สารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชั้นสูง เช่น ในพืช สัตว์ และมนุษย์ อยู่ในรูปของโครโมโซม ประกอบด้วยส่วนที่เป็นดีเอ็นเอ และโปรตีนประเภทฮิสโทน (histone) ที่เข้าเกาะกันและทำการพันเกลียวเพิ่มขนาดขึ้นจนเป็นโครโมโซมภายในนิวเคลียสของเซลล์ โครโมโซมมีความสามารถในการถ่ายทอดจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกได้ โดยที่ลูกจะได้รับโครโมโซมชุดหนึ่งจากพ่อและอีกชุดหนึ่งจากแม่ ลูกจึงมีลักษณะต่างๆ ที่เหมือนกับพ่อและ/หรือแม่
ส่วนในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น แบคทีเรีย มีสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอในรูปวงแหวน สายคู่อยู่ภายในเซลล์ ส่วนไวรัสอาจมีสารพันธุกรรมเป็นดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ สายคู่หรือสายเดี่ยวก็ได้
สารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอทั้งหมดที่มีอยู่ภายในเซลล์หนึ่งๆของสิ่งมีชีวิตถูกเรียกว่า จีโนม (genome) ข้อมูลในจีโนม จึงเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งแตกต่างและมีความจำเพาะในแต่ละสิ่งมีชีวิต
ดีเอ็นเอมีคุณสมบัติในการเสียสภาพ (denaturation) และการคืนสภาพ (renaturation) ได้ เนื่องจากพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบสเป็นพันธะอ่อน ดีเอ็นเอจึงสามารถแยกออกเป็นเส้นเดี่ยวได้เมื่ออยู่ในสภาพที่มีอุณหภูมิหรือความเป็นกรดเป็นด่างสูงมากๆ และสามารถคืนสู่สภาพเดิมเมื่อมีการปรับอุณหภูมิ หรือความเป็นกรดเป็นด่างให้ลดลง การเข้าคู่ของดีเอ็นเอจะเป็นในรูปแบบเดิมคือ A จับกับ T และ G จับกับ C คุณสมบัติพฤติกรรมของดีเอ็นเอจึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพต่างๆ ได้

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

โรคฉี่หนูคร่าตายแล้ว 26 มากับน้ำท่วม

สถานการณ์น้ำท่วมทั่วประเทศเริ่มคลายวิกฤติ แต่ยังมีหลายจุดถูกน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน ชาวนาต้องเร่งเสริมคันนาหวั่นน้ำทะลักเข้าท่วมจนทำนาล่ม ครวญข้าวราคาตกต่ำเพราะเจอพิษน้ำท่วมแถมพ่วงด้วยหอยเชอรี่ระบาดจนสิ้นเนื้อประดาตัว วอนหน่วยงานราชการเร่งให้ความช่วยเหลือด่วน กระทรวงสาธารณสุขเตือนให้ระวังโรคฉี่หนูกำลังแพร่ระบาดหนัก พบปีนี้มีผู้ป่วยแล้วกว่า 2,600 ราย เสียชีวิต 26 ราย จ.บุรีรัมย์ ครองแชมป์ผู้ป่วยฉี่หนูสูงสุด สถานการณ์ฝนตกน้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เริ่มคลี่คลายลงแล้ว ยกเว้นในบางจุดของบางจังหวัดที่ยังคงมีน้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ขณะที่ความช่วยเหลือจากภาครัฐยังเป็น ไปอย่างเชื่องช้าตามระบบราชการนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ว่า หลังมีฝนตก ติดต่อกันหลายวันในเขตพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ทำให้มีน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มหลายอำเภอ พื้นที่การเกษตรเสียหายหลายนับหมื่นไร่ จนทางจังหวัดต้องประกาศ เขตภัยพิบัติ สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดที่หน้า ร.ร.บ้านหนองนมวัว ถนนสายนครสวรรค์-ลาดยาว ต.หนองนมวัว อ.ลาดยาว มีน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมผิวการจราจร ระยะทางยาวกว่า 1 กม. ระดับน้ำสูงราว 30 ซม. และมีน้ำไหลข้ามถนนตลอดเวลา สภาพการจราจรเป็นไปด้วยความล่าช้า รถทุกชนิดต้องค่อยๆวิ่งสวนกัน โดยเจ้าหน้าที่ได้นำไม้มาทาสีปักเป็นหลักให้เห็นแนวถนน ประชาชนบางส่วนต้องหันไปใช้เส้นทางสายลาดยาว-บรรพตพิสัยแทน ส่วนพื้นที่การเกษตรโดยรอบจำนวนหลายหมื่นไร่ ถูกน้ำท่วมมิดหมดแล้วที่ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร พบพื้นที่ปลูกข้าว หมู่ 2 และหมู่ 3 ต.วังไทร มีน้ำป่าจาก อ.คลองลานไหลเข้าท่วมต้นข้าวที่มีอายุเพียงเดือนเศษจนมิด ส่วนบริเวณถนนสายท่าพุทรา-หัวถนน พบชาวนารวมกลุ่มพากันนำกระสอบมาบรรจุทราย ก่อนนำใส่เรือบรรทุกไปที่บริเวณริมคันนาที่มีน้ำท่วมขัง เพื่อทำเป็นทำนบกั้นน้ำเข้านาเพราะเกรงข้าวจะจมน้ำ โดยไม่มีหน่วยราชการใดเข้าไปให้ความช่วยเหลือ กลุ่มชาวนาบอกว่า ราคาข้าวเปลือกที่ขายได้ขณะนี้ถ้าเป็นข้าวที่คุณภาพดีไม่แช่น้ำ ขายได้เกวียนละ 6,100 บาท ส่วนข้าวเขียวที่ชาวนาเกี่ยวหนีน้ำ หรือข้าวแช่น้ำมีความชื้นสูง ขายได้เพียงเกวียนละไม่ถึง 5,000 บาท นางสุวรรณ นุ่มทอง อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 134 หมู่ 2 ต.คลองสมบูรณ์ เจ้าของนาข้าว เปิดเผยว่าทำนาไว้ 30 ไร่ ขณะนี้ต้นข้าวออกรวงเริ่มเหลือง เตรียมจะเก็บเกี่ยวในอีก 10 วันข้างหน้า แต่ประสบปัญหามีน้ำป่าจากคลองสมบูรณ์ ที่รับน้ำจาก อ.คลองลาน ไหลเข้าท่วม จึงระดมเพื่อนบ้านและญาติๆให้มาช่วยขนกระสอบทรายไปกั้นน้ำบริเวณคันนาโดยรอบทั้งแปลง เพื่อเสริมคันนาให้สูงขึ้น ที่ต้องลงทุนซื้อทรายมาบรรจุกระสอบไปเสริมคันนา เนื่องจากระดับน้ำสูงมาก คาดว่าถ้าไม่มีฝนตกลงมาอีก น้ำที่ท่วมขังน่าจะระบายได้ทัน เพื่อนบ้านที่มีนาข้าวอยู่ติดกัน เพิ่งเกี่ยวข้าวหนีน้ำไปเมื่อวาน ทั้งๆที่ข้าวยังไม่เหลือง ขายไม่ได้ราคา แต่ก็ต้องจำใจเกี่ยวเพราะกลัวว่าข้าวจมน้ำจะไม่ได้เงินเลย ตนได้ แต่หวังว่าฝนคงทิ้งช่วงให้บ้าง แต่ถ้าหากภายใน 3 วันนี้ น้ำยังไม่ลดระดับลง คงต้องตัดใจเกี่ยวข้าวทั้งที่ยังเขียวๆอยู่เหมือนกัน ที่ จ.พิษณุโลก เมื่อค่ำคืนที่ผ่านมาได้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่งผลให้ต้นโพธิ์ยักษ์อายุราว 200 ปี ภายในวัดคลองวัดไร่ หมู่ 4 ต.บางระกำ อ.บางระกำ หักโค่น ล้มลงเฉียดเมรุหวุดหวิด มีเพียงกระเบื้องมุงหลังคาศาลาธรรมสังเวชที่อยู่ใกล้เคียง ถูกกิ่งต้นโพธิ์หล่นใส่แตกเสียหาย 4 แผ่น จากการสอบถามพระภิกษุเพ็ญ จิตสฺโล อายุ 72 ปี พระลูกวัด เปิดเผยว่า ต้นโพธิ์ต้นนี้อยู่คู่กับวัดมานาน มีความกว้างโคนต้นขนาด 5 คนโอบ สูงประมาณ 30 เมตร คาดว่ามีอายุกว่า 200 ปี เหตุที่โค่นชนิดถอนรากถอนโคนน่าจะเกิดจากการมีฝนตกลงมาอย่างหนักในช่วงนี้ ดีที่ไม่ล้มทับเมรุและศาลพระภูมิที่อยู่ใกล้ที่สุดในทิศทางที่ต้นโพธิ์ล้มลงที่ ต.โคกก่อง อ.เมืองสกลนคร น้ำที่ล้นตลิ่งออกมาจากลำน้ำก่ำ ได้เอ่อเข้าท่วมเรือกสวนไร่นาของชาวบ้านเป็นบริเวณกว้างหลายพันไร่ โดยเป็นน้ำที่ล้นออกมาจากประตูระบายน้ำสุรัสวดี บริเวณหนองหาร แหล่งน้ำจืด ขนาดใหญ่ นายพรชัย ทาวังราช อายุ 54 ปี บ้านเลขที่ 128 หมู่ 3 บ้านหนองใส ต.โคกก่อง กล่าวว่า ขณะนี้ชาวบ้านเดือดร้อนมาก เพราะนอกจากนาข้าวจะจมน้ำนานนับเดือนจนต้นข้าวเน่าตายหมดแล้ว ที่เหลืออีกเพียงเล็กน้อยก็มีหอยเชอรี่ระบาดอีกด้วย ตนปลูกข้าว 20 ไร่ เห็นทีต้องหมดตัว ลำพังเงินช่วยเหลือจากรัฐที่บอกว่าจะจ่ายค่าชดเชยให้ไร่ละ 606 บาทนั้นคงไม่พอแน่ เพราะในการทำนาต้องลงทุนถึงไร่ละ 3 พันบาท ไหนจะค่ารถไถ ค่าจ้างถอนต้นกล้า ค่าจ้างปักดำ ไหนจะค่าปุ๋ยที่กระสอบละกว่า 1 พันบาท ขณะนี้กำลังคิดว่าจะปลูกข้าวรอบใหม่หลังน้ำลด แม้จะไม่ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ก็ดีกว่าอดตาย ที่ ต.หนองบัวศาลา อ.เมืองนครราชสีมา เกิดน้ำไหลบ่าท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นรอบที่ 2 ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา บ้านเรือนกว่า 300 หลัง ในพื้นที่ 3 หมู่บ้านของ ต.หนองบัวศาลา ประกอบด้วย หมู่ 2 บ้าน หนองตะลุมปุ๊กเก่า, หมู่ 8 บ้านหนองตาคง และหมู่ 10 บ้านหนองตะลุมปุ๊กใหม่ ถูกน้ำท่วมได้รับความเดือดร้อนไปตามๆกัน ล่าสุดระดับน้ำท่วมยังคงทรงตัวอยู่ที่ 60 ซม.-1 เมตร ชาวบ้านต้องลุยน้ำออกไปใช้ห้องน้ำห้องสุขาที่ปั๊ม ปตท.ที่ตั้งอยู่ห่างไปราว 1 กม. และส่วนหนึ่งต้องไปใช้ห้องน้ำห้องสุขาของ อบต. และส่วนราชการที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้ทั้งเด็กๆ ผู้หญิง และผู้สูงอายุต้องเดือดร้อนทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและสภาพจิตใจ หลายคนเกิดความเครียดจัดตะโกนด่าทอหน่วยงานราชการต่างๆนานา รวมทั้งการสัญจรเข้าออกก็เป็นไปด้วยความยากลำบากทุลักทุเล เนื่องจากมีรถยกสูงของ ปภ.จังหวัดนครราชสีมา เพียงคันเดียวที่ใช้รับส่งเข้าออกได้เร็วกว่าเรือท้องแบน 2 ลำ โดยเฉพาะช่วงเช้าและเย็นที่กระทรวงสาธารณสุข นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ในปีนี้มีฝนตกชุก อาจทำให้ บางโรคมีการแพร่ระบาดง่ายขึ้น ที่น่าห่วงคือโรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) ซึ่งพบผู้ป่วยตลอดปี และมักจะพบเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงฤดูฝนและหลังน้ำท่วม เนื่องจากเชื้อโรคที่อยู่ในฉี่ของหนูทุกชนิดที่ฉี่ไว้ตามพื้นดินต่างๆ จะกระจายไปกับน้ำที่ท่วมได้ง่าย และมีชีวิตอยู่ในน้ำได้นานหลายเดือน ดังนั้นผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อโรคฉี่หนูในขณะนี้ก็คือผู้ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย ผู้ที่ต้องทำงานในภาคเกษตร เช่น ชาวนา ชาวสวน ชาวประมงน้ำจืด สำหรับสถานการณ์โรคฉี่หนู ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-5 ก.ย.53 พบผู้ป่วยโรคฉี่หนู 2,621 ราย เสียชีวิต 26 ราย พบผู้ป่วยทุกภาค "แต่เมื่อวิเคราะห์ในช่วง 4 เดือนหลังจากที่มีฝนตกชุกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือน พ.ค.-ส.ค. จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น รวม 4 เดือน มีผู้ป่วยโรคฉี่หนู 1,653 ราย เสียชีวิต 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 ของผู้ป่วยทั้งหมด มากที่สุดคือในเดือน ก.ค.พบผู้ป่วย 513 ราย เดือน ส.ค. 500 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงที่สุดได้แก่ จ.บุรีรัมย์ 226 ราย ศรีสะเกษ 197 ราย ขอนแก่น 179 ราย สุรินทร์ 169 ราย กาฬสินธุ์ 100 ราย ส่วนในภาคเหนือพบผู้ป่วยมากที่สุดที่จังหวัดน่าน 38 ราย เชียงราย 34 ราย พะเยา 18 ราย" รมช.สาธารณสุขกล่าวนางพรรณสิริกล่าวอีกว่า ขอย้ำเตือนประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือการแช่น้ำนานๆ ถ้ามีบาดแผลตามร่างกาย หรือแค่รอยถลอก รอยขีดข่วน ควรงดลงน้ำ เนื่องจากเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทางคือ ทางบาดแผลและกินน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ แนะนำให้สวมรองเท้าบูตเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้น้ำถูกแผล และระวังอย่าให้มีน้ำขังในรองเท้าบูตที่ใส่ หลังเสร็จภารกิจแล้ว ให้รีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เช็ดตัวให้แห้ง กรณีผู้ที่ดื่มน้ำบ่อ ควรต้มให้เดือดเพื่อฆ่าเชื้อ กำจัดขยะไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู อาหารที่ค้างคืนให้อุ่นให้เดือดก่อนรับประทาน ทั้งนี้ลักษณะอาการของโรคฉี่หนู จะมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่อง หากมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินลุยน้ำให้ทราบด้วย เนื่องจากโรคนี้มียารักษาหายขาด หากไม่รีบรักษาและปล่อยไว้นานจนอาการมากขึ้น อาจเสียชีวิตได้

ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินมหาวิทยาลัยมหาสาคาม









ตะลึง พบแอ่ง ไดโนเสาร์ “ โปรซอโรพอด ” ชนิดกินพืชที่ภูกระดึง เจอชิ้นส่วนสมบูรณ์กว่า 30 ชิ้นครั้งแรกในไทย คาดเป็นชนิดใหม่ของโลกรอการยืนยันอีก 2 ปี ทีมวิจัยเตรียมลุยต่อจิ๊กซอร์ 5 แหล่งค้นพบแถบอีสานเหนือ หลังพบทั้งรอยเท้า และชิ้นส่วนไดโนเสาร์กระจายเป็นวงกว้าง (7ก.ย.) ดร.วราวุธ สุธีธร ผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวว่า หลังจากมีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกท่อนหัวไหล่ไดโนเสาร์ซอโรพอด ขนาด 1.65 ซม. ที่ภูน้อย จ.กาฬสินธุ์ ในช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นการค้นพบชิ้นส่วนซอโรพอดชิ้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังเจอซากฟอสซิลอื่นๆ เช่น จระเข้ เต่า ปลาโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่า การที่มีสัตว์หลากชนิดรวมทั้งไดโนเสาร์มานอนตายอยู่ในแอ่งเดียวกัน ในสมัยโบราณพื้นที่นี้อาจเป็นร่องแม่น้ำขนาดใหญ่ เมื่อเกิดน้ำไหลหลาก ทำให้ชิ้นส่วนดังกล่าวถูกไหลตามน้ำแล้วมากองรวมกันในสถานทีเดียวกัน ซึ่งน่าสนใจที่จะต้องมีการไขปริศนาต่อไป หลังจากการค้นพบดัง กล่าว นักวิจัยได้ตีวงสำรวจซากดึกดำบรรพ์ครอบคลุมหมวดหินชั้นน้ำพอง ครอบคลุม อ.ภูกระดึง จ.เลย คำม่วง กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ขอนแก่น สกลนคร มุกดาหาร เพื่อต่อจิ๊กซอว์ และแผนที่แอ่งไดโนเสาร์ในพื้นที่ภาคอีสาน จนกระทั่งได้มีการค้นพบท่อนชิ้นส่วนกระดูกท่อนขาบนของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด ( Prosauropod ) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ชนิดกินพืช ฟันมีรอยหยักแบบเลื่อย คอยาว เท้าหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลังและล่าสุดได้มีการค้นพบ 5 แหล่งใหม่ที่มีซากไดโนเสาร์อยู่ในชั้นหินน้ำพอง ประกอบด้วย 1.ภูน้อย 2.ภูผาเทิบ 3.ภูขวาง 4.ภูท่าสองคอน 5. ผากก ทั้ง 5 แหล่งอยู่ใน อ.ภูกระดึง จ.เลย ดร.วราวุธ กล่าวว่า สิ่งที่ค้นพบและถือเป็นเรื่องใหม่ที่น่าตื่นเต้นก็คือพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์โป รซอโรพอด เกือบครบทุกชิ้นส่วนราว 30 กว่าชิ้นในบริเวณนี้กระจัดกระจายกันอยู่ โดยก่อนหน้านี้เคยมีรายงานการค้นพบเพียงแค่ส่วนปล่ายนของกระดูกสะโพกส่วน หน้าของไดโนเสาร์ชนิดนี้ที่ อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ เมื่อปี 2535 มาแล้ว แต่การค้นพบครั้งนี้ เป็นการค้นพบที่สมบูรณ์มากที่สุดและเกือบครบทุกชิ้นส่วนในแหล่งดังกล่าว กระจัดกระจาย โดยเฉพาะขาท่อนบน กระดูกโครงสันหลัง ที่บริเวณภูขวาง เบื้อง ต้นสันนิฐานว่า เป็นไดโนเสาร์ เก่าที่สุดในประเทศไทย อยู่ในเป็นช่วงไทรแอสซิกตอนปลายถึงยุคจูแรสซิกตอนต้น อายุในช่วงราว 209 ล้านปี นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์ ซึ่งมีความต่างจากรอยตีนไดโนเสาร์ที่เคยค้นพบมาแล้ว เพราะมี 4 นิ้ว โดยนิ้วที่เพิ่มมามีลักษณะเหมือนเดือยของไก่ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นักวิจัยได้เข้าไปขุดซากชิ้นส่วนที่เจอ นำมากลับมาวิจัยที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร เพื่อศึกษารายละเอียดเปรียบเทียบกับไดโนเสาร์จากต่างประเทศในระดับโลกอยู่ดู ว่าโพไซโรพอดที่เจอล่าสุดจะอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์ประเภทใดหรืออาจจะเป็น ไดโนเสาร์ชนิดที่ยังยังไม่เคยค้นพบ ทั้งนี้ จะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ปีจึงจะทราบผลที่แน่ชัด “ความน่าสนใจ ตั้งแต่มีการศึกษาไดโนเสาร์ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ในประเทศไทยเคยค้นพบไดโนเสาร์ที่อยู่ในช่วงที่มีอายุของจูแรสซิกมาแล้ว 16 ชนิด โดย 6 ชนิดคือชนิดใหม่ของโลกและอีก 5 ชนิดอยู่ในกลุ่มสกุลใหม่ของโลก โดยตัวที่เก่าที่สุดคืออิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ ที่ภูกุ้มข้าว จ.ชัยภูมิ แต่หลังจากนี้การค้นพบไดโนเสาร์ในกลุ่มโปรซอโรพอด ที่มีอายุเก่ายิ่งขึ้นจะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อการค้นพบและเส้นทางของไดโน เสาร์ที่มีในประเทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการรวมกลุ่มของกรมทรัพยากรธรณี อาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ นักศึกษาปริญญาโท เพื่อมาจัดทำรายละเอียดเชิงลึกในหมวด หินชั้นน้ำพองและบริเวณภูกระดึง ” ดร.วราวุธ ระบุ วันเดียวกัน ใน งานประชุมวิชาการธรณีวิทยาและแหล่งแร่ไทย - ลาว นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า กรมทรัพยากรธรณีและกรมธรณีศาสตร์ สปป . ลาว ได้ร่วมมือด้านวิชาการทางธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีมาต้งแต่ปี 2545 โดยมีการร่วมกันสำรวจธรณีวิทยาและแหล่งแร่ในพื้นที่สปป . ลาว รวม 3 พื้นที่ ประกอบด้วยแขวงไชยะบุรี หลวงพระบาง และบ่อแก้ว ซึ่งเป็นรอยต่อใกล้กับ จ . เลย อุตรดิตถ์ และน่านของประเทศไทย และร่วมสำรวจแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาในเส้นทางแขวงอัตปรือ จำปาศักดิ์ สะหวันนะเขต คำม่วง และบอลิคำไซ ใกล้กับจ . หนองคาย และอุบลราชธานี นอกจากนี้ได้ร่วมกันพัฒนาพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาที่กรุงเวียงจันทร์ สปป . ลาว เพื่อจัดแสดงแร่และซากดึกดำบรรพ์จากการค้นพบในการสำรวจธรณีวิทยาและแหล่งแร่ นอกจากนี้ยังร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาระบบสารสนเทศ เป็นต้น ล่าสุดกรมทรัพยากรธรณีและกรมธรณีศาสตร์ สปป . ลาว ได้ร่วมประชุมก่อนจะมีมติว่าจะทำแผนพัฒนาร่วมกันตั้งแต่ปี 2554-2558 โดยจะมีการจัดทำแผนธรณีวิทยาในสัดส่วน 1 ต่อ 5 แสน ที่สำคัญจะทำแผนท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาที่มีความโดดเด่นสวยงามเพื่อที่จะยก ระดับเป็นอุทยานธรณีวิทยาระดับโลก โดยในปี 2554 จะทำในเส้นทางมุกดาหาร – สะหวันนะเขต - คำม่วง ปี 2555-2556 จะทำเส้นทางหนองคาย - เวียงจันทร์ และปี 2557-2558 จะทำเส้นทางสายเลย - วังเวียง อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ภายใต้แผนพัฒนา 5 ปี ประเทศไทยและประเทศลาว ถือ เป็นการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างไทยลาวครบ 60 ปี โดยจะชูสโลแกนร่วมกันว่าธรณีวิทยาไม่มีพรมแดน โดยในการรับมอบครั้งนี้หวังว่าจะเกิดความร่วมมือในด้านของอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว เพื่อที่จะสร้างรายได้ให้กับทั้ง 2 ประเทศด้วย โดยเฉพาะการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ทางธรณีวิทยา และการยกระบบอุทยานธรณีวิทยาให้ขึ้นสู่ระดับโลก ตลอดจนเส้นทางท่องเที่ยว 3 เส้นทาง ที่มา คม ชัด ลึก ออนไลน์

พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา


















พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา > ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมา ในแต่ละปี คนอีสานบริโภคเห็ดอย่างมหาศาล นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการใช้เห็ดบางชนิดเป็นยารักษาโรคบางอย่างได้ แต่กลับมีการศึกษาทางวิชาการน้อยมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยมหาสารคามซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่ตั้งอยู่ท่ามกลางความหลากหลายของทรัพยากรเหล่านี้ จึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำเพื่อการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาและต่อยอดองค์ความรู้ของการใช้ประโยชน์ทรัพยากรเหล่านี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงได้ทำโครงการพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจาก Thai-Korea Natural Phellinus Mushroom Research Center โดยเริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกันถือเป็นพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาแห่งแรกในประเทศไทยและเอเชียพันธกิจ พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับต่อยอดและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา อันจะทำให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของเห็ด ความเข้าใจเกี่ยวกับเห็ด โดยกระบวนการเก็บตัวอย่าง การจำแนกอย่างเป็นระบบ การจัดแสดงตัวอย่าง การเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการวิจัยเป้าประสงค์ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา ทั้งเห็ดในภาคอีสานและเห็ดที่มีการวิจัยหรือได้รับความสนใจในต่างประเทศ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาตัวยาใหม่ๆเพื่อช่วยชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะโรคที่ยาแผนปัจจุบันยังรักษาไม่ได้

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ไข้หวัด 2009 ระลอก3 ระบาดต่อเนื่องในไทย




เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสและประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมปฏิบัติการคุมเข้มไข้หวัดใหญ่ 2009 และไข้เลือดออก ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอเรนท์ของกรมควบคุมโรคไปยังสำนักงานควบคุมป้องกันโรคส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิส่วนกลางเข้าร่วม ว่า ขณะนี้ถือว่าการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 หรือ ไข้หวัดใหญ่ 2009 ในประเทศไทยอยู่ในระลอกที่ 3 โดยกลืนเข้าไปในการระบาดของไข้หวัดใหญ่ประจำปี ซึ่งจะระบาดเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง
“แต่การระบาดของไข้หวัดใหญ่ในปีนี้มีความแปลกประหลาดกว่าปีก่อน คือ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในปีนี้มีชนิดบี ชนิดเอ เอช3เอ็น2(H3N2) และสายพันธุ์2009 จะส่งผลให้เกิดการระบาดรุนแรงกว่าไข้หวัดใหญ่ประจำปีธรรมดา ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้ถ้าไม่ระวังตัวอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ การที่กลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน จะช่วยให้การระบาดไม่รุนแรงได้ จึงขอให้ไปรับการฉีดวัคซีน อย่ากลัว” ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าว
ด้าน นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การระบาดของโรคใน 2 รอบที่ผ่านมา ประเทศไทยมีคนติดเชื้อและมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติแล้วประมาณ 20 % และมีผู้ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันอีกประมาณ 4-5 % จึงยังมีผู้เสี่ยงติดเชื้ออีกถึง 75% ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายในการระบาดระลอก 3 คือ กลุ่มเด็กเล็กอายุ 0-5 ปี เนื่องจากการระบาดของโรค 2 รอบที่ผ่านมา เด็กกลุ่มนี้ยังติดเชื้อน้อย เพราะส่วนใหญ่ยังไม่เข้าโรงเรียนและอยู่กับบ้าน ทำให้ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันพบว่า จำนวนผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นประมาณ 20-30 % ทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดย 60% เป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 อีก 20-30 % เป็นชนิด บี และ 10 % ชนิดเอ สายพันธุ์เอช3เอ็น2


นพ.ทวี กล่าวอีกว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูกของเด็กเล็กนานกว่าผู้ใหญ่ ส่งผลให้ระยะแพร่เชื้อในเด็กนานกว่าผู้ใหญ่ โดยจะแพร่เชื้อก่อนแสดงอาการ 2-3 วัน ขณะที่ผู้ใหญ่ 1 วัน และแพร่เชื้อหลังแสดงอาการแล้วได้นานถึง 14 วัน ส่วนผู้ใหญ่ 7 วัน ซึ่งการรักษาทำได้ด้วยการให้ยาโอเซลทามิเวียร์จนครบกำหนด ทั้งนี้ การวิจัยร่วมระหว่างประเทศไทยและเวียดนามเกี่ยวกับขนาดของการให้ยาโอเซลทามิเวียร์ พบว่า การให้ยาดับเบิลโด๊สให้ผลในการรักษาไม่ต่างจากการให้ยาในอัตราตามปกติ ส่วนอัตราการดื้อยาในผู้ใหญ่ประมาณ 1-1.5 % สำหรับเด็ก 4 % ถือเป็นเกณฑ์ปกติ เนื่องจากเชื้อไวรัสจะอยู่ในตัวเด็กนานกว่าผู้ใหญ่ จึงมีโอกาสปรับตัวและดื้อยาได้สูง แม้ไม่ใช่ปัญหาแต่แพทย์จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุเสี่ยงเสียชีวิตจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009มากกว่าเด็กเล็ก

กยศ.แจ้งเปิดระบบยืนยันกู้ยืมเทอม 2/2553




กยศ. แจ้งกำหนดการเปิดระบบยืนยันการกู้ยืมในภาคเรียนที่ 2/2553 ให้นักเรียน นักศึกษาที่ประสงค์กู้ยืมต่อเนื่อง เข้าดำเนินการในระบบ e-Studentloan ตั้งแต่บัดนี้ถึง 31 ตุลาคม 2553 เมื่อวันที่ 16 ก.ย. นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. เปิดเผยว่า “หลังจากที่กองทุนฯ ได้มีการปรับเพิ่มจำนวนกู้ยืมเพิ่มเติมให้อีก 86,717 ราย จากเดิม 893,353 ราย ทำให้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 มีนักเรียน นักศึกษาผู้ที่ได้รับสิทธิกู้ยืมรวมทั้งสิ้น 980,070 ราย และในขณะนี้ใกล้สิ้นสุดภาคเรียนที่ 1 แล้ว กองทุนฯ จึงได้กำหนดการเปิดระบบ e-Studentloan เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาที่ได้รับสิทธิการกู้ยืมในภาคเรียนที่ 1/2553 เข้ายื่นแบบยืนยันคำขอกู้ยืมเงินสำหรับภาคเรียนที่ 2/2553 ได้ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ย.-31 ต.ค.53 ดังนั้น หากนักเรียน นักศึกษากลุ่มดังกล่าวไม่ยืนยันการขอกู้ภายในกำหนด จะมีผลให้ไม่ได้รับค่าครองชีพและ ค่าเล่าเรียนในภาคเรียนที่ 2 กองทุนฯ จึงขอให้นักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ต.ค. 2553 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่ยังทำตามขั้นตอนต่างๆ ของระบบ e-Studentloan ในภาคเรียนที่ 1/2553ไม่แล้วเสร็จจะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นถึงขั้นตอนตรวจสอบและยืนยันใบลงทะเบียน และ/หรือส่งข้อมูลลงทะเบียน จึงจะสามารถดำเนินการในส่วนของภาคเรียนที่ 2/2553 ต่อไปได้ ทั้งนี้ กองทุนฯ จะเปิดระยะเวลาดำเนินการให้สถานศึกษาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมภาคเรียนที่ 1/2553 ถึงวันที่ 30 ก.ย 2553 เป็นวันสุดท้าย โดยจะไม่ขยายเวลาการดำเนินการให้อีก ทั้งนี้ ในส่วนของสถานศึกษาที่ดำเนินการตามขั้นตอนของการกู้ยืมสำหรับภาคเรียนที่ 1/2553 เสร็จเรียบร้อยแล้วสามารถดำเนินการในส่วนของภาคเรียนที่ 2 ต่อได้ทันที เพื่อเป็นการช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่มีความจำเป็นในการใช้เงินค่าครองชีพอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์สายใจ กยศ. โทร. 02-610 4888

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ลมสุริยะ


ลมสุริยะ และวัฎจักรแห่งดวงอาทิตย์

หลายท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า ลมสุริยะ กันมาบ้าง บางท่านก็รู้จักสิ่งนี้ บางท่านก็ยังไม่เข้าใจนัก และเชื่อว่า ในช่วงที่ผ่านมาไม่นานมานี้ หลายคนคงได้ยินข่าวการเกิดลมสุริยะรุนแรงถึงขั้นเป็นพายุสุริยะ แรงที่สุดซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2000 พอดี
ปรากฏการณ์ลมสุริยะ แท้จริงเป็นพฤติกรรมทั่วไปของดวงอาทิตย์ และมีผลต่อโลกอยู่บ้าง เช่น ทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้ที่ขั้วโลก หรือรบกวนการทำงานของดาวเทียม ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่การเกิดลมสุริยะรุนแรงครั้งต่อไปมาตกในช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษพอดี แต่ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการล่มสลายของอารยธรรม การล่มสลายของโลกแต่อย่างใด แท้ที่จริงกลับเป็นสิ่งที่เราคาดการณ์ได้ และเหตุการณ์นี้ก็จะวนกลับมาเกิดอีกในทุก ๆ ประมาณ 11 ปี
เรื่องราวต่อไปนี้จึงเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์ดังกล่าว เราจะพาคุณไปรู้จักกับ ลมสุริยะ หรือ solar wind ในขณะเดียวกันก็จะเผยให้ทราบว่า รอบการเกิดลมสุริยะทุก ๆ 11 ปีนั้นคืออะไร
ความเป็นมาของลมสุริยะ
ความคิดที่ว่า ดวงอาทิตย์น่าจะปลดปล่อยบางอย่างซึ่งเรียกชื่อกันก่อนว่า "ลม" นั้นมีมานาน ทั้งนี้โดยการสังเกตพฤติกรรมของดาวหาง นั่นคือ เราพบว่า หางของดาวหางจะชี้ออกจากดวงอาทิตย์เสมอ ไม่ว่าดาวหางจะเคลื่อนที่เข้าหาดวงอาทิตย์ หรือเคลื่อนที่ออกไปจากดวงอาทิตย์ก็ตาม ในตอนต้นทศวรรษที่ 1600 เคปเลอร์ได้คาดเดาว่า น่าจะมีความกดดันบางอย่างอยู่ในแสงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ผลักหางของดาวหางหันออกไปเสมอ ขอสังเกตนี้เป็นจริงกับหางฝุ่นของดาวหางทุกดวง
ดาวหางเวสต์ จะเห็นหางฝุ่นสีขาว หางก๊าซสีฟ้า ทิศทางหางต่างกันเล็กน้อย
แต่หางของดาวหางยังมีอีกประเภทหนึ่ง เราเรียกว่า หางก๊าซ ซึ่งก็คือประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมาจากตัวดาวหางเอง โดยหางก๊าซนี้จะมีทิศทางต่างจากหางฝุ่นเล็กน้อย บางทีก็งอโค้ง และมักจะมีสีสัน โดยทั่วไปจะเป็นสีฟ้า และแรงดันจากแสงดวงอาทิตย์ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ของหางก๊าซจากดาวหางได้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1943 (พ.ศ. 2486) คูโน ฮอฟไมส์เตอร์ จากเยอรมนี และ ลุดวิก เบียร์มันน์ ได้เสนอว่า นอกจากแรงดันในแสงอาทิตย์แล้ว ดวงอาทิตย์น่าจะปลดปล่อยกระแสอนุภาคบางอย่างออกมาด้วย ลำกระแสอนุภาคนี้เองที่คอยผลักหางก๊าซของดาวหาง โดยที่ลำอนุภาคนี้มีการผันแปรความเร็วอยู่เสมอ โดยมีความเร็วไม่มากไปกว่าความเร็วของตัวดาวหาง ทำให้หางก๊าซของดาวหางเฉไปในทิศทางที่ต่างจากหางฝุ่น รวมทั้งมีการแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ
ไม่มีใครรู้ว่า กระแสอนุภาคนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ต่อมาในปี ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) ยูจีน พาร์กเกอร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ได้สร้างโครงสร้างภาวะสมดุลของบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ และเขาพบว่า การนำความร้อนในชั้นบรรยากาศได้ส่งผลให้ผิวนอกของบรรยากาศชั้นโคโรนานี้ ไหลออกไปในอวกาศด้วยความเร็วเทียบเท่ากับ ความเร็วของลำกระแสอนุภาคนั้น การไหลนี้ต่อมามีชื่อเรียกเป็นทางการว่า "solar wind" หรือที่เราเรียกกันในภาษาไทยว่า "ลมสุริยะ" นั่นเอง
ในปีถัดมา อุปกรณ์ดักจับอิออนบนยานอวกาศโซเวียตลูนิก 2 และ 3 ซึ่งจะคอยวัดประจุไฟฟ้าจากอิออนที่พุ่งเข้ามา ข้อมูลที่ได้พบว่า ปริมาณที่ตรวจวัดจะแกว่งไปตามการหมุนของยานอวกาศ และจะมีมากเมื่ออุปกรณ์นี้หันเข้าหาดวงอาทิตย์ นี่เป็นการค้นพบครั้งแรกที่ยืนยันทฤษฎีของพาร์กเกอร์ และในเวลาต่อมาก็มีการยืนยันอีกหลายครั้งโดยอาศัยอุปกรณ์จากยานอวกาศ โดยเฉพาะข้อมูลจากยานมาริเนอร์สอง ที่พบว่า ลมสุริยะมีทั้งความเร็วสูงและต่ำซ้ำกันเป็นช่วงประมาณ 27 วัน หมายความว่า แหล่งกำเนิดลมสุริยะนี้หมุนไปพร้อม ๆ กับการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์นั่นเอง
http://inscience.tripod.com/solar1.htm